Where France and Thailand meet!   

  • Home - หน้าหลัก
  • Culture - วัฒนธรรม
  • Français - ภาษาฝรั่งเศส
  • Science & Society - วิทยาศาสตร์
  • Press & Partners

เดินเล่นตามสไตล์ไทย-ฝรั่งเศสริมฝั่งแม่น้ำแซน

 

แผงขายหนังสือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์กรุงปารีส และเป็นร่องรอยสุดท้ายของการค้าขายตามท้องถนน รวมถึงอาหารข้างทางที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสร้างสีสันให้กับท้องถนนในเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส แต่ในกรุงเทพฯนั้นสิ่งเหล่านี้ยังคงเฟื่องฟูอยู่ เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในประเทศไทย แผงขายหนังสือเหล่านี้จะรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณริมฝั่งขวาของแม่น้ำแซน จากสะพาน Marie ไปจนถึง Quai du Louvre และฝั่งซ้ายจาก Quai de la Tournelle ไปจนถึง Quai Voltaire ใกล้กับมหาวิหารนอร์ทเทอร์ดามแห่งปารีส มีผู้ขายหนังสือมากกว่า 200 ราย โดยแต่ละร้านมีขนาดกว้าง 8เมตรและเปิดโล่งกลางแจ้งอย่างแท้จริง แผงหนังสือหรือที่เรียกกันว่า "boîtes à livres" กว่า 900ร้าน รวบรวมหนังสือเก่าและหนังสือมือสองเกือบ 300,000 เล่ม ยังไม่นับรวมนิตยสาร แสตมป์ และการ์ดสะสมอีกจำนวนมาก แต่โปรดระวัง ! มีแค่เพียงแผงเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ขายของที่ระลึกเกี่ยวกับปารีส เครื่องประดับตกแต่งเล็ก ๆ และอุปกรณ์แก็ดเจ็ตต่างๆ การมีอยู่ของแผงหนังสือเหล่านี้มีส่วนทำให้ริมฝั่งแม่น้ำแซนมีเสน่ห์และช่วยสร้างความมีชีวิตชีวา สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมไปถึงมรดกทางวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กล่องบรรจุหนังสือ "สีเขียวตู้บรรทุกสินค้า" หรือที่เรียกกันว่า "vert wagon" ได้รับการควบคุมให้กลมกลืนกับสีของรถไฟใต้ดิน น้ำพุวอลเลซและเสามอร์ริส หากแผงขายหนังสือในปารีสได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเมืองหลวงอื่นๆเช่น ออตตาวา ปักกิ่ง หรือโตเกียว แต่ไม่ใช่กับกรุงเทพมหานคร ทว่าความสนใจที่มีต่อถนนในประเทศไทย นั่นคือ แผงขายปลาหมึกแห้ง เริ่มจากการบดปลาหมึกด้วยมือหลายๆครั้งเพื่อทำให้นุ่ม ปลาหมึกบางราวกับกระดาษ หั่นปลาหมึกเป็นชิ้นแล้วย่างบนเตาถ่านเล็กๆและเสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มรสจัด และนี่คืออาหารข้างทางทั่วไป เป็นอาหารว่างที่ทานเพลินขณะเดินไปตามท้องถนน 

 

Subscribe
Previous
Franco-Thai strolls on the Seine banks
Next
La French Tech hier, aujourd'hui et demain (FR)
 Return to site
Cancel
All Posts
×

Almost done…

We just sent you an email. Please click the link in the email to confirm your subscription!

OK

    Culture
    Home
    Science